25

Years

of excellent dental care and remain committed for years to come.

ปวดฟันหากปล่อยไว้ไม่พบทันตแพทย์ อาจอักเสบและติดเชื้อรุนแรงได้

โดยสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ เช่น การติดเชื้อบริเวณลำคอ การติดเชื้อในโพรงอากาศไซนัส หรือเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น

ทั้งนี้ การปวดฟัน หมายถึง อาการปวดบริเวณตัวฟัน หรืออวัยวะรอบตัวฟัน ส่วนใหญ่มักเป็นพบว่ามีสาเหตุจาก ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันคุด ฟันแตก ฟันสึก หรืออวัยวะปริทันต์อักเสบ ซึ่งอาการปวดไม่สามารถหายเองได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ต้นเหตุ ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการปวดฟัน ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุของอาการปวดฟัน

  • ฟันผุ
  • ฟันคุด
  • ฟันร้าวหรือฟันแตก
  • ฟันสึกลึกจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • โรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน
  • ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง
  • เศษอาหารสะสมบริเวณซอกฟันส่งผลให้ให้เหงือกรอบ ๆ อักเสบ กลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย
  • การปวดฟัน อันเนื่องมาจากฟันขึ้นกำลังขึ้นในวัยเด็ก
  • การปวดกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร เนื่องจากการนอนกัดฟัน
  • ฟันได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก

ประเภทของอาการปวดฟัน อาการปวดฟัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ปวดแบบชั่วคราวหายได้เอง

มักเกิดอาการเมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้น เช่น การรับประทานของเย็น ของร้อน หรือขณะเคี้ยวอาหาร โดยอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อกำจัดปัจจัยกระตุ้น ลักษณะอาการปวดมักจะมีลักษณะ ปวดจี๊ดๆ หรือ ร่วมกับอาการเสียว โดยมากพบว่าสาเหตุเกิดจากฟันผุหรือฟันบิ่นจนถึงเนื้อฟันชั้นใน ความเย็น ความร้อน และการบดเคี้ยวอาหาร จึงกระตุ้นเส้นประสาทในโพรงประสาทใต้เนื้อฟันได้มากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกเสียวฟัน สามารถรักษาให้หายได้โดยการบูรณะฟันร่วมกับการใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน

2. ปวดเป็นจังหวะตุ๊บๆ

อาการปวดลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้เองแม้ไม่มีปัจจัยกระตุ้น โดยส่วนใหญ่พบว่าอาการปวดมักเกิดในเวลากลางคืน และการรับประทานของร้อนจะทำให้อาการปวดนั้นแย่ลง ส่วนของเย็น หรือการเคี้ยวอาหาร ก็พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน และอาการปวดจะยังคงอยู่ แม้จะไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นเเล้วก็ตาม อาจพบร่วมกับอาการบวมหรือหนองบริเวณเหงือกรอบๆฟันซี่นั้น ซึ่งการปวดลักษณะดังกล่าว จะมีความรุนแรงมากกว่าอาการปวดฟันแบบแรก เพราะมีการผุจนทะลุถึงโพรงประสาทภายในฟันแล้ว การรักษาจึงจำเป็นต้องรักษารากฟันร่วมกับการบูรณะฟัน

  • “ปวดฟัน” อย่าเพิกเฉย ควรพบทันตแพทย์

เมื่อมีอาการปวดฟัน ควรพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ รับการรักษาตามลักษณะอาการและสาเหตุของโรค เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาการปวดอาจรุนแรงขึ้น โดยเหงือกหรือช่องปากบวม ซึ่งทำให้การรักษายากขึ้น และอาจจำเป็นต้องถอนฟัน

  • ดูแลสุขภาพช่องปาก ลดการเกิดอาการปวดฟัน

อาการปวดฟัน มักสืบเนื่องมากจากปัญหาฟันผุ ฉะนั้นแล้วเราจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการปวดฟัน ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

แชร์โพสต์นี้

Facebook
Twitter
LinkedIn