25

Years

of excellent dental care and remain committed for years to come.

ทันตกรรมยุคดิจิตอล รักษาคลองรากฟันด้วยการส่องกล้อง

เมื่อฟันผุ ฟันสึก ฟันแตก หรือฟันร้าว ก่อให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณเหงือก และปวดฟัน การถอนฟันอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป เราสามารถเลือกเก็บรักษาฟันแท้ไว้ใช้งานได้ หลังรักษาคลองรากฟัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางทันตกรรมพัฒนาไปมาก มีการรักษาคลองรากฟันด้วยเทคนิคการส่องกล้อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

การรักษาคลองรากฟันคืออะไร?

การรักษาคลองรากฟัน (Root Canal Treatment) คือ การซ่อมแซม และรักษาฟันที่เสียหายหรือติดเชื้ออย่างรุนแรง โดยไม่ต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้ง โดยขูดเนื้อฟันส่วนที่เสียหายของโพรงประสาทและคลองรากฟันออก เพื่อทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อ จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและโพรงประสาทฟัน

ข้อบ่งชี้…เมื่อไหร่ควรรักษาคลองรากฟัน?

  • ฟันผุ ฟันแตก ฟันสึก ฟันร้าว ลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • มีอาการปวดฟัน หรือปวดฟันมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณฟัน
  • สีของฟันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  • มีตุ่มหนอง มีการบวมบริเวณเหงือก หรือบริเวณหน้า

ส่องกล้องรักษาคลองรากฟัน

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคการส่องกล้องเพื่อรักษาคลองรากฟัน (Dental Operating Microscope : DOM) ช่วยเพิ่มกำลังขยายเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพในการระบุตำแหน่งคลองรากฟัน โดยเฉพาะกรณีที่โพรงประสาทฟันตีบแคบ หรืออุดตัน การส่องหารอยร้าว หรือรักษารอยทะลุในตัวฟันและรอยโรค หรือความบกพร่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การส่องกล้องจึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการรักษาคลองรากฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดีของการส่องกล้องรักษาคลองรากฟัน

  • กำลังขยายสูง เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • สามารถระบุตำแหน่งคลองรากฟันได้ง่ายขึ้น
    สามารถค้นหารอยโรค หรือความบกพร่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • ไม่ต้องถอนฟัน ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทดแทน
    ทั้งนี้ หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้ว พบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวใกล้เคียงฟันธรรมชาติ มากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องปรับตัวหลังจากบูรณะฟัน และด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้องรักษาคลองรากฟัน ยังช่วยลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากทันตแพทย์สามารถเห็นรอยโรคได้ชัดเจน จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

แชร์โพสต์นี้

Facebook
Twitter
LinkedIn